สภาพทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ ( อบต.ป่าไร่ ) อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

ที่ตั้ง ตำบลป่าไร่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอดอนตาลและอยู่ตอนทางใต้ของจังหวัดมุกดาหารโดยมีระยะทางห่างจากอำเภอดอนตาลประมาณ 30กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดมุกดาหารประมาณ63 กิโลเมตร
เนื้อที่ ตำบลป่าไร่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 104.11 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 65,068ไร่

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านบาก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

ลักษณะภูมิประเทศ

ตำบลป่าไร่ตั้งอยู่ที่ราบสลับภูเขา สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายและบริเวณที่ลุ่มจะมีป่าไม้เบญจพรรณผลัดใบ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยขนาดใหญ่หลายสาย และมีอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัวเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ลักษณะภูมิอากาศ

ตำบลป่าไร่มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี ฤดู คือ

1. ฤดูร้อน อากาศจะร้อนจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมอากาศจะร้อนมากที่สุดใน เดือนเมษายน

2. ฤดูฝน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ผนวกกับร่องความกดอากาศต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ฝนตกชุกมากในเดือนสิงหาคมและกันยายน

3. ฤดูหนาว อากาศจะหนาวจัดในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจะหนาวจัดในช่วงเดือน ธันวาคมและมกราคม

ประชากร

ตำบลป่าไร่มีจำนวนประชากรทั้งหมด 9,076 คน แยกเป็นชาย 4,648คน หญิง 4,428 คน  ความหนาแน่นของประชากร 86 คนต่อตารางกิโลเมตรข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2557 )
หมู่บ้าน  ชาย  หญิง  รวม
หมู่ที่ บ้านป่าชาด 445 414 859
หมู่ที่ บ้านป่าไร่ 402 400 802
หมู่ที่ บ้านหนองเม็ก  567 563 1,130
หมู่ที่ บ้านนามน 271 255 526
หมู่ที่ บ้านนาป่ง  414 395 809
หมู่ที่ บ้านโนนสวาท  363 314 677
หมู่ที่ บ้านห้วยทราย  539 506 1,045
หมู่ที่ บ้านนาทาม  458 450 908
หมู่ที่ บ้านป่งขาม  370 344 714
หมู่ที่ 10 บ้านนาสมบูรณ์  480 435 915
หมู่ที่ 11 บ้านโนนสวาท 339 352 691

จำนวนหมู่บ้าน

ตำบลป่าไร่มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน รวม 2,318 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านป่าชาด มีจำนวน 207 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านป่าไร่ มีจำนวน 213 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านหนองเม็ก  มีจำนวน 277 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านนามน มีจำนวน 154 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านนาป่ง  มีจำนวน 168 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านโนนสวาท  มีจำนวน 184 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านห้วยทราย  มีจำนวน 259 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านนาทาม  มีจำนวน 280 ครัวเรือน
หมู่ที่ บ้านป่งขาม  มีจำนวน 152 ครัวเรือน
หมู่ที่ 10 บ้านนาสมบูรณ์  มีจำนวน 246 ครัวเรือน
หมู่ที่ 11 บ้านโนนสวาท มีจำนวน 178 ครัวเรือน

สภาพทางเศรษฐกิจ

ประชากรในตำบลป่าไร่มีรายได้เฉลี่ย 43,738 บาท คน ปี การประกอบอาชีพของประชาชน ในตำบลป่าไร่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยปลูกข้าวเป็นหลัก รองลงมาคือ อ้อย มันสำปะหลัง  ยางพารา มะละกอ และเลี้ยงสัตว์

พาณิชยกรรมละการบริการ

ธนาคาร  1 แห่ง
ตู้รับจ่ายเงินอัตโนมัติ 2 แห่ง
สถานบริการน้ำมัน 9 แห่ง
ร้านค้าทั่วไป 69 แห่ง
โรงสี 40 แห่ง

การท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลป่าไร่มี แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว และวัดหลวงปู่ลือ

 โครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม แบ่งเป็น
ถนนลาดยาง 3 สาย
ถนนคอนกรีต 79 สาย
ถนนลูกรัง 40 สาย
สะพาน                                                    4 แห่ง
ระบบขนส่งมวลชน มีรถประจำทางปรับอากาศสาย กรุงเทพ ฯ – ดอนตาล ผ่าน เที่ยว วัน

การสื่อสาร

โทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ 13 แห่ง
ที่ทำการไปรษณีย์  1 แห่ง
ระบบเสียงตามสายหอกระจายข่าว  11 แห่ง

ไฟฟ้า

มีไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน

แหล่งน้ำ

ฝาย 26 แห่ง
บ่อน้ำตื้น 2 แห่ง
บ่อบาดาล 5 แห่ง
ประปาหมู่บ้าน 18 แห่ง
สระน้ำ 29 แห่ง
อ่างเก็บน้ำ                                        21 แห่ง

ด้านสังคม

 การศึกษา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 7 แห่ง
โรงเรียนระดับประถมศึกษา 7 แห่ง
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4 แห่ง
สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  3 แห่ง
ศาสนา
วัด 7 แห่ง
ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ99.9
ผู้นับถือศาสนาอื่น ฯ ร้อยละ 0.1
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัย์สิน
 สถานีตำรวจภูธรป่าไร่ 1 แห่ง
ที่พักสายตรวจ 2 แห่ง
ประเพณีท้องถิ่น
มีงานประเพณีบวงสรวงเจ้าปู่ตา ประเพณีสรงอัฐิหลวงปู่ลือ และงานประเพณีทั่วไป

 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แหล่งน้ำธรรมชาติ

แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยทราย ห้วยตอกผึ้ง ห้วยเป็ดก่า ห้วยโสกบก หนองทรายห้วยทรายแล้ง ห้วยบง ห้วยเตย ห้วยเดือนห้า ห้วยนามน ห้วยนางหวาน ห้วยผาหอม หนองประมงห้วยโศก ห้วยหินสูง ห้วยหินข้อ ห้วยตาดกกหว้า ห้วยหมาไน ห้วยขามป้อม ห้วยจโกด ห้วยนกเขียนห้วยงูตอด และห้วยมะแฟน

ป่าไม้

ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งและมีไม้มีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ประดู่ มะค่าโมง แดง พะยูง ชิงชัน นนทรี สาธร ตะแบกพะยอม เป็นต้น

สัตว์ป่า

มีสัตว์ป่าที่ยังคงเหลือหลายชนิด เช่น ไก่ป่า หมูป่า และสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด